โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย สังกัดสำนักงานพันธกิจการศึกษามูลนิธิสภาคริสตจักรในประเทศไทย บนเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 31 ตารางวา ประกอบไปด้วยหอธรรม อาคารอารีย์ เสมประสาท อาคาร เอ็ม .บี. ปาล์มเมอร์ อาคารสิรินาถ อาคารบีซีซี 150 ปี สระว่ายน้ำ สนามฟุตบอล สนามบาสเกตบอล เปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และอาคารจอห์น เอ เอกิ้น ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 16 ชั้นและชั้นใต้ดิน 4 ชั้น ชั้น 12 เป็นหอประวัติศาสตร์โรงเรียน
ปรัชญา :
โรงเรียนกรรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยตั้งอยู่บนรากฐานแห่งคริสต์ศาสนา มุ่งมั่นที่จะพัฒนานักเรียนทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ สังคม และจิตวิญญาณ ให้สมบูรณ์ โดยการเป็นพลเมืองดี มีประสิทธิภาพในการดำรงชีวิตอย่างสันติสุขในสังคม
วิสัยทัศน์ :
โรงเรียนกรรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ มีความสามารถเป็นเลิศทางด้านวิชาการ เป็นคนดี เป้นผู้นำที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความคิดสร้างสรรค์ ก้าวทันมาตรฐานสากลบนพื้นฐานความเป็นไทย
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนและดนตรี
โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนเป็นโรงเรียนที่มีความโดดเด่นในด้านวิชาการและกิจกรรมมต่างๆ ซึ่งแน่นอนว่าหลายๆคนก็จะนึกถึงเด็กนักเรียนที่ได้รับรางวัลโอลิมปิควิชาการหรือการแข่งขันกีฬาฟุตบอล แต่ในช่วงยุคหลังมานั้นกิจกรรมที่โดดเด่นไม่แพ้กันนั่นก็คือกิจกรรมดนตรีที่ได้ไปแข่งขันหลากหลายรายการและได้รับรางวัลกลับมา
กิจกรรมดนตรีนั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อยุคของอ.สิงโต จ่างตระกูล อดีตผู้บริหารโรงเรียน ได้มีการรื้อฟื้นวงดุริยางค์ขึ้นมา ซึ่งวงดุริยางค์นั้นก็จะได้เล่นตามงานใหญ่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นงานจตุรมิตร งานแปรอักษรวันลูกเสือ หรือกิจกรรมต่างๆในโรงเรียน
ซึ่งวงดุริยางค์นั้นเป็นวงดนตรีมาจากตะวันตก หรือที่เรียกว่า Ochestra แต่ด้วยความที่โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนมีสมาชิกไม่มาก ขนาดของวงจึงไม่ใหญ่ ทั้งนี้ก็มีการแบ่งให้นักดนตรีได้เล่นครบทั้ง4กลุ่มของเครื่องดนตรี ประกอบด้วย 1.เครื่องสาย 2.เครื่องลมไม้ 3.เครื่องลมทองเหลือง 4.เครื่องเพอคัชฌัน
บรรณนุกรมหนังสือภาษาไทย
ผศ. ยุวดี ศิริ. ศิลปวัฒนธรรม : โรงเรียนมิชชันนารีชาย-หญิงแห่งแรกในสยาม กรุงเทพคริสเตียน-วัฒนาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร. 2554
ไขแสง ศุขะวัฒนะ. สังคีตนิยม ว่าด้วย : ดนตรีตะวันตก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิพม์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554.
ประสงค์ สุขุม. ๑๕๐ ปี จากกุฎีจีนถึงประมวญ มิชชันนารีกับการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529.
บรรณานุกรมข้อมูลออนไลน์
"โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : https://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤศจิกายน 2559).
Br@in. "กรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย". [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://moobrain.blogspot.com/2009/02/blog-post_19.html. (วันที่ค้นข้อมูล : 6 พฤศจิกายน 2559)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution 4.0 International License.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น